Subscribe

รหัส ง 30222 งานตัดเย็บเสื้อผ้า

เขียนโดย Unknown on Monday, June 8, 2009

รายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยีเพิ่มเติม รหัส ง 30222 งานตัดเย็บเสื้อผ้า ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 40 ชั่วโมง
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
วิชา การงานอาชีพและเทคโนโลยีเพิ่มเติมคหกรรม รหัสวิชา ง 30222 ระดับชั้น ม .2 เวลา 4 ชั่วโมง
เรื่อง วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในงานตัดเย็บ
หน่วยการเรียนรู้ วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในงานตัดเย็บ

สาระการเรียนรู้ / สาระสำคัญ จุดประสงค์การเรียนรู้
อุปกรณ์ที่ใช้ในงานตัดเย็บเป็นสิ่งที่จำเป็นในงานตัดเย็บ ผู้ปฏิบัติต้องรู้จัดชนิด ลักษณะ ประเภทประโยชน์ในการใช้ให้ถูกต้องตรงกับงาน ดูแลรักษาให้ถูกต้องตามลักษณะของเครื่องมือเครื่องใช้นั้นๆ

1.บอกชื่อวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในงานตัดเย็บได้ถูกต้อง
2. จำแนกประเภทและลักษณะของอุปกรณ์ที่ใช้ในงานตัดเย็บได้ถูกต้อง
3.อธิบายวิธีเลือกอุปกรณ์ที่ใช้ในงานตัดเย็บแต่ละประเภทได้
4.เก็บรักษาอุปกรณ์ที่ใช้ในการตัดเย็บแต่ละประเภทได้

สื่อ/อุปกรณ์/ แหล่งเรียนรู้
1. ภาพเสื้อผ้าตามสมัย
2. เอกสารประกอบการเรียนการสอนเรื่อง งานตัดเย็บเสื้อผ้าหน่วยที่ 1 ประกอบด้วย
1.ใบความรู้หน่วยที่ 1 จำนวน 6 ชุด
2. แบบฝึกทักษะหน่วยที่ 1 จำนวน 1 ชุด
3.แบบทดสอบปรนัยจำนวน 10 ข้อ เรื่อง วัสดุอุปกรณ์ในงานตัดเย็บ

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้

  • ชั่วโมงที่ 1-2
1.ขั้นกระตุ้นสมอง
ครูให้นักเรียนดูรูปภาพเสื้อผ้าที่ทันสมัยในปัจจุบัน 1 ภาพ ให้นักเรียนช่วยกัน วิเคราะห์ในประเด็น โดยตอบคำถามดังต่อไปนี้
1..เสื้อผ้าในภาพ มีส่วนประกอบใดบ้างที่นำมาประกอบหรือเย็บเป็นชุดนี้ เลือกนักเรียนในชั้น 3 – 5 คน ออกมาเขียนบนกระดาน ( แนวทางในการตอบ ประกอบด้วยตัวเสื้อ แขน คอ ปก กระดุม )
2. ในขั้นตอนการปฏิบัติงานให้ชุดนี้เย็บได้สำเร็จเป็นภาพดังตัวอย่างต้องใช้วัสดุอุปกรณ์อะไรบ้าง ให้นักเรียนช่วยกันยกตัวอย่าง 2-3 คน
ครูและนักเรียนสรุปร่วมกันถึงประเด็นในข้อที่ 1 และข้อ ครูแจ้งผลการเรียนรู้ที่คาดหวังและทดสอบก่อนเรียนจำนวน 10 ข้อ
2. ขั้นท่องประสบการณ์
1. ให้นักเรียนศึกษาใบความรู้ที่ 1 เรื่อง อุปกรณ์ที่ใช้วัด
2. ครูสนทนาเกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์ในงานตัดเย็บที่ใช้วัด นักเรียนตอบคำถามในแบบฝึกที่ 1.1 ตรวจคำตอบพร้อมกันทั้งชั้นเรียน
3. ครูสนทนาเกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์ในงานตัดเย็บที่ใช้ตัด นักเรียนตอบคำถามในแบบฝึกที่ 1.2 ตรวจคำตอบพร้อมกันทั้งชั้นเรียน
4. ครูสนทนาเกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์ในงานตัดเย็บที่ใช้ทำเครื่องหมาย นักเรียนตอบคำถามในแบบฝึกที่ 1.3 ตรวจคำตอบพร้อมกันทั้งชั้นเรียน
5. ครูสนทนาเกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์ในงานตัดเย็บที่ใช้เย็บ นักเรียนตอบคำถามในแบบฝึกที่ 1.4 ตรวจคำตอบพร้อมกันทั้งชั้นเรียน
6. ครูสนทนาเกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์ในงานตัดเย็บที่ใช้รีด นักเรียนตอบคำถามในแบบฝึกที่ 1.5 ตรวจคำตอบพร้อมกันทั้งชั้นเรียน

  • ชั่วโมงที่ 3-4
3. ขั้นสร้างฐานความรู้
1. ให้นักเรียนแต่ละคนวางเขียนแผนภาพแสดงถึงลักษณะของวัสดุอุปกรณ์ในแบบฝึกที่ 1.5 และแบบฝึกที่ 1.7
2. นักเรียนทั้งชั้นร่วมกันเฉลยและตรวจคำตอบ สรุปผลการเรียนรู้ร่วมกันทั้งชั้นเรียน

4.ขั้นสรุป-สู่ใจ
ครูสรุปร่วมกับนักเรียนเกี่ยวกับชื่อและลักษณะของวัสดุอุปกรร์ที่ใช้งานตัดเย็บ ให้นักเรียนจับคู่ ชื่อและลักษณะให้ตรงกัน ในแบบฝึกที่ 1.7

5.ขั้นปรับไปใช้ในชีวิตจริง
1.ให้นักเรียนสังเกตเสื้อผ้าที่ครูนำมาเป็นตัวอย่าง ถ้านักเรียนจะตัดเย็บเสื้อผ้าชุดนี้ นักเรียนจะใช้อุปกรณ์ในขั้นตอนใดและใช้วัสดุอุปกรณ์ ชนิดใดบ้าง และเมื่อใช้แล้วจะมีวิธีการเก็บ ดูแลรักษาอย่างไร ให้แยกเป็นประเภท ในแบบฝึกที่ 1.8 ,แบบฝึกที่ 1.9 และแบบฝึกที่ 1.10

2. ทดสอบการประเมินผลหลังเรียนแบบปรนัยจำนวน 10 ข้อ

การวัดผลและประเมินผล

1. การประเมินผลตามสภาพจริง
- สังเกตพฤติกรรมการทำกิจกรรมของนักเรียน
- สังเกตความตั้งใจ เอาใจใส่และความรับผิดชอบของนักเรียน
- สังเกตกระบวนการกลุ่ม การรายงานหน้าชั้นเรียน
2. การตรวจผลงาน
- แบบฝึกทักษะที่ 1.1 – 1.10

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2

วิชา การงานอาชีพและเทคโนโลยีเพิ่มเติมคหกรรม รหัสวิชา ง 30222 ระดับชั้น ม .2 เวลา 2 ชั่วโมง
เรื่อง ส่วนประกอบและหน้าที่ของส่วนประกอบต่างๆของจักรเย็บผ้า
หน่วยการเรียนรู้ จักรเย็บผ้า

สาระการเรียนรู้ / สาระสำคัญ
จุดประสงค์การเรียนรู้

จักรเย็บผ้าเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในงานตัดเย็บที่
จำเป็นและสำคัญ ต้องรู้จักส่วนประกอบที่สำคัญและหน้าที่ต่างๆ เมื่อเกิดปัญหาในการใช้จึงจะสามารถดูแลและบำรุงรักษาได้

1.บอกส่วนประกอบของจักรเย็บผ้าได้
2.บอกหน้าที่ที่สำคัญของส่วนประกอบจักรเย็บผ้าได้

สื่อ/อุปกรณ์/ แหล่งเรียนรู้

1. จักรเย็บผ้า
2. เอกสารประกอบการเรียนการสอนเรื่อง งานตัดเย็บเสื้อผ้า หน่วยที่ 2 ประกอบด้วย
1.ใบความรู้หน่วยที่ 2 จำนวน 4 ชุด
2. แบบฝึกทักษะหน่วยที่ 2 จำนวน 4 ชุด
3.แบบทดสอบปรนัยจำนวน 10 ข้อ เรื่อง ส่วนประกอบและหน้าที่ของส่วนประกอบต่างๆของจักรเย็บผ้า

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้

ชั่วโมงที่ 1
1.ขั้นกระตุ้นสมอง
1. ครูและนักเรียน สนทนาและ ซักถามประสบการณ์ของนักเรียน 3 – 5 คน ว่านักเรียนคนใดเคยใช้จักรเย็บผ้า ,ใครใช้จักรเป็นบ้าง , ใช้เย็บอะไร มีความยากง่ายเพียงใด นักเรียนรู้จักชื่อส่วนใดของจักรบ้าง ,ส่วนประกอบนั้นมีความสำคัญอย่างไร ครู แจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้
2.ครูและนักเรียนสรุปร่วมกันถึงประเด็นในข้อที่ 1 และข้อ ครูแจ้งผลการเรียนรู้ที่คาดหวังและ
ทดสอบก่อนเรียนจำนวน 10 ข้อ
2. ขั้นท่องประสบการณ์
1.ให้นักเรียนแต่ละคนศึกษาเนื้อหา ส่วนประกอบและหน้าที่ของส่วนประกอบจากใบความรู้ที่ 2
2. ครูอธิบายส่วนประกอบของหัวจักร แนะนำส่วนประกอบอื่นที่ต้องใช้ร่วมกับจักร สุ่มถามให้นักเรียนตอบเกี่ยวกับชื่อส่วนประกอบจักร
3. ให้แต่ละกลุ่มทำกิจกรรมตามแบบฝึกที่ 2 .1 โดยให้จับคู่ ชื่อและหน้าที่ของส่วนประกอบให้
ตรงกัน
4. ส่งใบงาน เปลี่ยนกันตรวจในแต่ละกลุ่ม ตรวจคำตอบพร้อมกันทั้งชั้นเรียน

ชั่วโมงที่ 2

3. ขั้นสร้างฐานความรู้
1. ให้นักเรียนแต่ละคนวางเขียนแผนภาพแสดงถึงส่วนประกอบและหน้าที่ของจักรจากจักรเย็บผ้าของจริงและแผนภาพส่วนประกอบ จากแบบฝึกที่ 2.2
2. นักเรียนทั้งชั้นร่วมกันเฉลยและตรวจคำตอบ สรุปผลการเรียนรู้ร่วมกันทั้งชั้นเรียน

4.ขั้นสรุป-สู่ใจ
ครูสรุปร่วมกับนักเรียนเกี่ยวกับชื่อและลักษณะของส่วนประกอบจักรให้ตรงกัน ในแบบฝึกที่ 2.3

5.ขั้นปรับไปใช้ในชีวิตจริง
1.ให้นักเรียนสังเกตจักรเย็บผ้าที่ครูนำมาเป็นตัวอย่าง ถ้านักเรียนจะใช้จักเย็บผ้า จักรแต่ละส่วนมีชื่อเรียกว่าอย่างไร และมีหน้าที่สำคัญอบ่างไร ให้นักเรียนเขียนตอบลงในผังความคิดตามแบบฝึกที่ 2. 4
2. ทดสอบการประเมินผลหลังเรียนแบบปรนัยจำนวน 10 ข้อ

การวัดผลและประเมินผล

1.การประเมินผลตามสภาพจริง
- สังเกตพฤติกรรมการทำกิจกรรมของนักเรียน
- สังเกตความตั้งใจ เอาใจใส่และความรับผิดชอบของนักเรียน
- สังเกตกระบวนการกลุ่ม การรายงานหน้าชั้นเรียน
2.การตรวจผลงาน
- แบบฝึกทักษะที่ 2.1 – 2.4

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4

วิชา การงานอาชีพและเทคโนโลยีเพิ่มเติมคหกรรม รหัสวิชา ง 30222 ระดับชั้น ม .2 เวลา 2 ชั่วโมง
เรื่อง การใช้จักรเย็บผ้า ( การกรอด้าย , การประกอบตีนผี ,การเย็บโดยไม่ใส่เข็ม )
หน่วยการเรียนรู้ จักรเย็บผ้า

สาระการเรียนรู้ / สาระสำคัญ
จุดประสงค์การเรียนรู้

จักรเย็บผ้าเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในงานตัดเย็บที่
จำเป็นและสำคัญ ต้องใช้ให้ถูกวิธี ถูกหน้าที่ตามขั้นตอน เมื่อเกิดปัญหาในการใช้จึงจะสามารถดูแลและบำรุงรักษาได้

1. อธิบายวิธีการใช้จักรได้
2.ใช้เย็บผ้าได้ตามขั้นตอน
3. ฝึกปฏิบัติการเย็บโดยใช้จักรเย็บผ้าตามรูปแบบที่กำหนดให้ได้

สื่อ/อุปกรณ์/ แหล่งเรียนรู้

1. ภาพเสื้อผ้าตามสมัย
2. เอกสารประกอบการเรียนการสอนเรื่อง งานตัดเย็บเสื้อผ้าหน่วยที่ 3 ประกอบด้วย
1.ใบความรู้หน่วยที่ 3 จำนวน 5 ชุด
2. แบบฝึกทักษะหน่วยที่ 3 จำนวน 5 ชุด
3.แบบทดสอบปรนัยจำนวน 10 ข้อ เรื่อง การใช้จักรเย็บผ้า

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้

ชั่วโมงที่ 1
1.ขั้นกระตุ้นสมอง
1. สนทนาและทบทวนความรู้เดิมเกี่ยวกับส่วนประกอบต่างๆของจักรที่นักเรียนรู้จักแล้ว และ ส่วนประกอบต่างๆของจักรนั้น มีความเกี่ยวข้องกับกลไกการทำงานของจักรทำให้จักรทำงานได้อย่างไรครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้
2.ครูและนักเรียนสรุปร่วมกันถึงประเด็นในข้อที่ 1 ครูแจ้งผลการเรียนรู้ที่คาดหวังและ
ทดสอบก่อนเรียนจำนวน 10 ข้อ
2. ขั้นท่องประสบการณ์
1. ให้นักเรียนจัดกลุ่มออกเป็น 6 กลุ่ม ตั้งชื่อกลุ่ม มอบหมายหน้าที่ในกลุ่ม
2.ให้นักเรียนแต่ละคนศึกษาเนื้อหา การใช้จักรเย็บผ้าจากใบความรู้ที่ 3.2 การใช้จักรการกรอด้าย
การใส่ตีนผี หมุดรัด เย็บไม่ต้องใส่เข็ม
3.ให้นักเรียนนั่งประจำที่จักรของตนเอง พร้อมทั้งฟังอธิบายและดูการสาธิต การใช้จักรการกรอ
ด้าย การใส่ตีนผี หมุดรัด เย็บไม่ต้องใส่เข็ม

ชั่วโมงที่ 2

3. ขั้นสร้างฐานความรู้
1.ครูอธิบายวิธีการใช้จักรและสาธิตการใช้จักรการกรอด้าย การใส่ตีนผี หมุดรัด เย็บไม่ต้องใส่เข็ม จากแผนภาพและของจริง ตามขั้นตอนประกอบด้วย การนั่ง การถีบจักร

4.ขั้นสรุป-สู่ใจ
1.ให้นักเรียนทุกคนฝึกปฏิบัติ การใช้จักรตามขั้นตอนที่ครู สาธิต และบันทึกผลการปฏิบัติลงใน
แบบฝึกที่ 3.2 ทดสอบปฏิบัติการใช้จักรกรอด้าย การใส่ตีนผี หมุดรัด เย็บไม่ต้องใส่เข็ม ตาม
ขั้นตอนรายบุคคล
2. ประเมินผลการปฏิบัติการใช้จักรร่วมกันทั้งชั้น
3.ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปถึงวิธีการใช้จักร (กรอด้าย การใส่ตีนผี หมุดรัด เย็บไม่ต้องใส่
เข็ม ) ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงาน เพื่อแก้ไขและปรับปรุง

5.ขั้นปรับไปใช้ในชีวิตจริง
ให้นักเรียนสังเกตผลงานการเย็บจักรด้วยลายเส้นแบบต่าง ๆจำนวน 4 แบบ เมื่อนักเรียนต้องเย็บเสื้อผ้า 1 ตัว นักเรียนจะต้องใช้ลายเส้นที่ครูกำหนดให้

การวัดผลและประเมินผล

1.การประเมินผลตามสภาพจริง
- สังเกตพฤติกรรมการทำกิจกรรมของนักเรียน
- สังเกตความตั้งใจ เอาใจใส่และความรับผิดชอบของนักเรียน
- สังเกตกระบวนการกลุ่ม การรายงานหน้าชั้นเรียน
2.การตรวจผลงาน
- แบบฝึกทักษะที่ 3.2

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5

วิชา การงานอาชีพและเทคโนโลยีเพิ่มเติมคหกรรม รหัสวิชา ง 30222 ระดับชั้น ม .2 เวลา 2 ชั่วโมง
เรื่อง การใช้จักรเย็บผ้า ( การร้อยด้าย , การใส่เข็ม , การเย็บโดยร้อยด้ายและใส่เข็ม )
หน่วยการเรียนรู้ จักรเย็บผ้า

สาระการเรียนรู้ / สาระสำคัญ
จุดประสงค์การเรียนรู้

จักรเย็บผ้าเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในงานตัดเย็บที่
จำเป็นและสำคัญ ต้องใช้ให้ถูกวิธี ถูกหน้าที่ตามขั้นตอน เมื่อเกิดปัญหาในการใช้จึงจะสามารถดูแลและบำรุงรักษาได้

1. อธิบายวิธีการใช้จักรได้
2.ใช้เย็บผ้าได้ตามขั้นตอน
3. ฝึกปฏิบัติการเย็บโดยใช้จักรเย็บผ้าตามรูปแบบที่กำหนดให้ได้

สื่อ/อุปกรณ์/ แหล่งเรียนรู้

1. จักรเย็บผ้า
2. เอกสารประกอบการเรียนการสอนเรื่อง งานตัดเย็บเสื้อผ้าหน่วยที่ 3 ประกอบด้วย
1.ใบความรู้หน่วยที่ 3 จำนวน 5 ชุด
2. แบบฝึกทักษะหน่วยที่ 3 จำนวน 5 ชุด
3.แบบทดสอบปรนัยจำนวน 10 ข้อ เรื่อง การใช้จักรเย็บผ้า

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้

ชั่วโมงที่ 1
1.ขั้นกระตุ้นสมอง
1. สนทนาและทบทวนความรู้เดิมเกี่ยวกับส่วนประกอบต่างๆของจักรที่นักเรียนรู้จักแล้ว และ ส่วนประกอบต่างๆของจักรนั้น มีความเกี่ยวข้องกับกลไกการทำงานของจักรทำให้จักรทำงานได้อย่างไรครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้
2.ครูและนักเรียนสรุปร่วมกันถึงประเด็นในข้อที่ 1 และครูแจ้งผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

2. ขั้นท่องประสบการณ์
1. ให้นักเรียนจัดกลุ่มออกเป็น 6 กลุ่ม ตั้งชื่อกลุ่ม มอบหมายหน้าที่ในกลุ่ม
2.ให้นักเรียนแต่ละคนศึกษาเนื้อหา การใช้จักรเย็บผ้าจากใบความรู้ที่ 3.3 การใช้จักรการร้อยด้าย ,
การใส่เข็ม , การเย็บโดยร้อยด้ายและใส่เข็ม
3.ให้นักเรียนนั่งประจำที่จักรของตนเอง พร้อมทั้งฟังอธิบายและดูการสาธิต การใช้จักรการร้อย
ด้าย , การใส่เข็ม , การเย็บโดยร้อยด้ายและใส่เข็ม

ชั่วโมงที่ 2

3. ขั้นสร้างฐานความรู้
1.ครูอธิบายวิธีการใช้จักรและสาธิตการใช้จักร การร้อยด้าย , การใส่เข็ม , การเย็บโดยร้อยด้ายและใส่เข็ม จากแผนภาพและของจริง ตามขั้นตอน

4.ขั้นสรุป-สู่ใจ
1.ให้นักเรียนทุกคนฝึกปฏิบัติ การใช้จักรตามขั้นตอนที่ครู สาธิต และบันทึกผลการปฏิบัติลงใน
แบบฝึกที่ 3.3 ทดสอบปฏิบัติการใช้จักรกรอด้าย การใส่ตีนผี หมุดรัด เย็บโดยใส่เข็ม ตาม
ขั้นตอนรายบุคคล
2. ประเมินผลการปฏิบัติการใช้จักรร่วมกันทั้งชั้น
3.ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปถึงวิธีการใช้จักร (กรอด้าย การใส่ตีนผี หมุดรัด การเย็บใส่เข็ม ) ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงาน เพื่อแก้ไขและปรับปรุง

5.ขั้นปรับไปใช้ในชีวิตจริง
ให้นักเรียนสังเกตผลงานการเย็บจักรด้วยลายเส้นแบบต่าง ๆจำนวน 4 แบบ เมื่อนักเรียนต้องเย็บเสื้อผ้า 1 ตัว นักเรียนจะต้องใช้ลายเส้นที่ครูกำหนดให้

การวัดผลและประเมินผล

1.การประเมินผลตามสภาพจริง
- สังเกตพฤติกรรมการทำกิจกรรมของนักเรียน
- สังเกตความตั้งใจ เอาใจใส่และความรับผิดชอบของนักเรียน
- สังเกตกระบวนการกลุ่ม การรายงานหน้าชั้นเรียน
2.การตรวจผลงาน
- แบบฝึกทักษะที่ 3.3

0 ความคิดเห็น:

Subscribe to: Post Comments (Atom)