Subscribe

วัยรุ่น Hank iPhone 3GS โครตเทพ

เขียนโดย Unknown on Tuesday, July 7, 2009

รายงานข่าวล่าสุด George Hotz แฮคเกอร์วัยรุ่นอายุ 19 ปี ผู้ปลดล็อค iPhone รุ่นก่อนหน้านี้ เขากลับมาอีกครั้ง พร้อมกับประกาศว่า เขาได้พัฒนาแอพพลิเคชันที่สามารถทำ Jailbrake ให้กับ iPhone 3G S ได้แล้ว!!!

นั่นหมายความว่า โปรแกรม purplera1n สามารถติดตั้งแอพพลิเคชันของใครก็ได้บนมือถือ iPhone 3G S แม้ซอฟต์แวร์ตัวนั้นจะไม่ได้ผ่านการพิจารณาโดยแอปเปิ้ล (Apple) ก็ตาม ซึ่งมันน่าทึ่งมากๆ ที่เขาใช้เวลาแฮค iPhone 3G S ได้สำเร็จภายในระยะเวลาไม่ถึงหนึ่งเดือน (iPhone 3G S วางจำหน่ายวันที่ 19 มิถุนายน)

การ ทำ Jailbreak ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่มาก เพราะนั่นหมายถึง คุณสมบัติของระบบรักษาความปลอดภัยของ iPhone ไม่ได้มีความหมาย สำหรับผู้ใช้ การทำ Jailbreak เพิ่มมูลค่าให้กับมือถือของเขา เนื่องจากมันทำให้สามารถรันแอพพลิเคชันต่างๆ ได้อย่างอิสระ แม้ว่า แอปเปิ้ลจะพยายามปิดช่องโหว่

เพื่อไม่ให้สามารถทำ Jailbreak ได้ แต่แฮคเกอร์อย่าง Hotz ก็หาวิธีใหม่ในการไล่จับหนูได้เสมอ ข้อสังเกตก็คือ ก่อนหน้านี้ Hotz สามารถปลดล็อค เพื่อทำให้ iPhone สามารถใช้งานได้กับเครือข่ายอื่นๆ โดยไม่ต้องขึ้นอยู่กับเครือข่าย AT&T เท่านั้น แต่การทำ Jailbreaking จะแตกต่างตรงที่มันแค่เปิดโอกาสให้เจ้าของ iPhone 3G S สามารถรันแอพฯที่ยังไม่ได้รับการพิจารณาจากทางแอปเปิ้ลเท่านั้น

Hotz ได้เผยแพร่ซอฟต์แวร์ที่เขาได้พัฒนาเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา โดยทำงานบนคอมพิวเตอร์ที่รันวินโดวส์ และใช้ iTunes เวอร์ชันล่าสุดกับ iPhone 3G S ที่รันซอฟต์แวร์ iPhone 3.0 เขาได้โพสต์ข้อความไว้ในบล็อกอีกด้วยว่า จะออกเวอร์ชันสำหรับแม็ควันที่ 5 กรกฎาคมนี้ อย่างไรก็ตาม เขาได้เตือนผู้ใช้ที่พยายามจะทดลองใช้ซอฟต์แวร์ของเขาว่า ควรแบ็คอัพระบบก่อนด้วย Hotz ยังบอกอีกว่า หลังจากที่เขาแฮคไอโฟนได้สำเร็จ ทางแอปเปิ้ลได้แก้ไขและอุดช่องโหว่นั้นไปแล้ว แต่เขาก็พบช่องโหว่ใหม่จนได้ บล็อกหลายแห่งที่ได้ทดลองใช้โปรแกรมของ Hotz ยืนยันว่า โปรแกรมของเขาทำงานได้ Hotz เริ่มสร้างชื่อเสียงให้กับตัวเองตั้งแต่ในเดือนสิงหาคม 2007 เมื่อเขามีอายุเพียง 17 ปี เนื่องจากเป็นแฮคเกอร์คนแรกที่สามารถเจาะระบบรักษาความปลอดภัยของ iPhone เพื่อให้รันแอพฯ ที่ยังไม่ผ่านการพิจารณาจากแอปเปิ้ลได้เป็นผลสำเร็จ

ที่มา - http://www.arip.co.th/news.php?id=409407
1. ชื่อหลักสูตร
1.1 ชื่อภาษาไทย
หลักสูตรคหกรรมศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาการบริหารธุรกิจคหกรรมศาสตร
1.2 ชื่อภาษาอังกฤษ
Bachelor of Home Economics Program in
Home Economics Business Administration
2. ชื่อปริญญา
2.1 ชื่อเต็มภาษาไทย
คหกรรมศาสตรบัณฑิต(การบริหารธุรกิจคหกรรมศาสตร)
2.2 ชื่อยอภาษาไทย

คศ.บ. (การบริหารธุรกิจคหกรรมศาสตร)
2.3 ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ Bachelor of Home Economics
(Home Economics Business Administration)
2.4 ชื่อยอภาษาอังกฤษ B.H.E. (Home Economics Business Administration)
3. หนวยงานที่รับผิดชอบ
สาขาวิชาการบริหารธุรกิจคหกรรมศาสตร
คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
4. วัตถุประสงคของหลักสูตร
4.1 เพื่อผลิตบัณฑิตผูมีความรูความชํานาญดานการบริหารธุรกิจคหกรรมศาสตรสามารถดําเนินการ
จัดการการตลาด การผลิต ควบคุมและตรวจสอบผลงานเชิงอุตสาหกรรม และสามารถสาธิตแนะนํา
ผูบริโภค สามารถบริการและถายทอดความรูเรื่องงานประดิษฐตางๆทั้งการพูด การเขียน สามารถพัฒนา
ผลิตภัณฑดานรูปแบบและวัสดุ
4.2 ปฏิบัติงานในหนาที่ธุรกิจดานหัตถอุตสาหกรรมนักบริหารธุรกิจงานคหกรรมศาสตร นักพัฒนา
นักวิชาการที่สามารถวิเคราะหวิจัยและติดตามประเมินผล ปฏิบัติงานในหนาที่ผูแนะนํางานประดิษฐสาขา
หัตถอุตสาหกรรมและสามารถประกอบอาชีพธุรกิจไดอยางมีประสิทธิภาพ

รหัส ง 30222 งานตัดเย็บเสื้อผ้า

เขียนโดย Unknown on Monday, June 8, 2009
รายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยีเพิ่มเติม รหัส ง 30222 งานตัดเย็บเสื้อผ้า ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 40 ชั่วโมง
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
วิชา การงานอาชีพและเทคโนโลยีเพิ่มเติมคหกรรม รหัสวิชา ง 30222 ระดับชั้น ม .2 เวลา 4 ชั่วโมง
เรื่อง วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในงานตัดเย็บ
หน่วยการเรียนรู้ วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในงานตัดเย็บ

สาระการเรียนรู้ / สาระสำคัญ จุดประสงค์การเรียนรู้
อุปกรณ์ที่ใช้ในงานตัดเย็บเป็นสิ่งที่จำเป็นในงานตัดเย็บ ผู้ปฏิบัติต้องรู้จัดชนิด ลักษณะ ประเภทประโยชน์ในการใช้ให้ถูกต้องตรงกับงาน ดูแลรักษาให้ถูกต้องตามลักษณะของเครื่องมือเครื่องใช้นั้นๆ

1.บอกชื่อวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในงานตัดเย็บได้ถูกต้อง
2. จำแนกประเภทและลักษณะของอุปกรณ์ที่ใช้ในงานตัดเย็บได้ถูกต้อง
3.อธิบายวิธีเลือกอุปกรณ์ที่ใช้ในงานตัดเย็บแต่ละประเภทได้
4.เก็บรักษาอุปกรณ์ที่ใช้ในการตัดเย็บแต่ละประเภทได้

สื่อ/อุปกรณ์/ แหล่งเรียนรู้
1. ภาพเสื้อผ้าตามสมัย
2. เอกสารประกอบการเรียนการสอนเรื่อง งานตัดเย็บเสื้อผ้าหน่วยที่ 1 ประกอบด้วย
1.ใบความรู้หน่วยที่ 1 จำนวน 6 ชุด
2. แบบฝึกทักษะหน่วยที่ 1 จำนวน 1 ชุด
3.แบบทดสอบปรนัยจำนวน 10 ข้อ เรื่อง วัสดุอุปกรณ์ในงานตัดเย็บ

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้

  • ชั่วโมงที่ 1-2
1.ขั้นกระตุ้นสมอง
ครูให้นักเรียนดูรูปภาพเสื้อผ้าที่ทันสมัยในปัจจุบัน 1 ภาพ ให้นักเรียนช่วยกัน วิเคราะห์ในประเด็น โดยตอบคำถามดังต่อไปนี้
1..เสื้อผ้าในภาพ มีส่วนประกอบใดบ้างที่นำมาประกอบหรือเย็บเป็นชุดนี้ เลือกนักเรียนในชั้น 3 – 5 คน ออกมาเขียนบนกระดาน ( แนวทางในการตอบ ประกอบด้วยตัวเสื้อ แขน คอ ปก กระดุม )
2. ในขั้นตอนการปฏิบัติงานให้ชุดนี้เย็บได้สำเร็จเป็นภาพดังตัวอย่างต้องใช้วัสดุอุปกรณ์อะไรบ้าง ให้นักเรียนช่วยกันยกตัวอย่าง 2-3 คน
ครูและนักเรียนสรุปร่วมกันถึงประเด็นในข้อที่ 1 และข้อ ครูแจ้งผลการเรียนรู้ที่คาดหวังและทดสอบก่อนเรียนจำนวน 10 ข้อ
2. ขั้นท่องประสบการณ์
1. ให้นักเรียนศึกษาใบความรู้ที่ 1 เรื่อง อุปกรณ์ที่ใช้วัด
2. ครูสนทนาเกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์ในงานตัดเย็บที่ใช้วัด นักเรียนตอบคำถามในแบบฝึกที่ 1.1 ตรวจคำตอบพร้อมกันทั้งชั้นเรียน
3. ครูสนทนาเกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์ในงานตัดเย็บที่ใช้ตัด นักเรียนตอบคำถามในแบบฝึกที่ 1.2 ตรวจคำตอบพร้อมกันทั้งชั้นเรียน
4. ครูสนทนาเกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์ในงานตัดเย็บที่ใช้ทำเครื่องหมาย นักเรียนตอบคำถามในแบบฝึกที่ 1.3 ตรวจคำตอบพร้อมกันทั้งชั้นเรียน
5. ครูสนทนาเกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์ในงานตัดเย็บที่ใช้เย็บ นักเรียนตอบคำถามในแบบฝึกที่ 1.4 ตรวจคำตอบพร้อมกันทั้งชั้นเรียน
6. ครูสนทนาเกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์ในงานตัดเย็บที่ใช้รีด นักเรียนตอบคำถามในแบบฝึกที่ 1.5 ตรวจคำตอบพร้อมกันทั้งชั้นเรียน

  • ชั่วโมงที่ 3-4
3. ขั้นสร้างฐานความรู้
1. ให้นักเรียนแต่ละคนวางเขียนแผนภาพแสดงถึงลักษณะของวัสดุอุปกรณ์ในแบบฝึกที่ 1.5 และแบบฝึกที่ 1.7
2. นักเรียนทั้งชั้นร่วมกันเฉลยและตรวจคำตอบ สรุปผลการเรียนรู้ร่วมกันทั้งชั้นเรียน

4.ขั้นสรุป-สู่ใจ
ครูสรุปร่วมกับนักเรียนเกี่ยวกับชื่อและลักษณะของวัสดุอุปกรร์ที่ใช้งานตัดเย็บ ให้นักเรียนจับคู่ ชื่อและลักษณะให้ตรงกัน ในแบบฝึกที่ 1.7

5.ขั้นปรับไปใช้ในชีวิตจริง
1.ให้นักเรียนสังเกตเสื้อผ้าที่ครูนำมาเป็นตัวอย่าง ถ้านักเรียนจะตัดเย็บเสื้อผ้าชุดนี้ นักเรียนจะใช้อุปกรณ์ในขั้นตอนใดและใช้วัสดุอุปกรณ์ ชนิดใดบ้าง และเมื่อใช้แล้วจะมีวิธีการเก็บ ดูแลรักษาอย่างไร ให้แยกเป็นประเภท ในแบบฝึกที่ 1.8 ,แบบฝึกที่ 1.9 และแบบฝึกที่ 1.10

2. ทดสอบการประเมินผลหลังเรียนแบบปรนัยจำนวน 10 ข้อ

การวัดผลและประเมินผล

1. การประเมินผลตามสภาพจริง
- สังเกตพฤติกรรมการทำกิจกรรมของนักเรียน
- สังเกตความตั้งใจ เอาใจใส่และความรับผิดชอบของนักเรียน
- สังเกตกระบวนการกลุ่ม การรายงานหน้าชั้นเรียน
2. การตรวจผลงาน
- แบบฝึกทักษะที่ 1.1 – 1.10

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2

วิชา การงานอาชีพและเทคโนโลยีเพิ่มเติมคหกรรม รหัสวิชา ง 30222 ระดับชั้น ม .2 เวลา 2 ชั่วโมง
เรื่อง ส่วนประกอบและหน้าที่ของส่วนประกอบต่างๆของจักรเย็บผ้า
หน่วยการเรียนรู้ จักรเย็บผ้า

สาระการเรียนรู้ / สาระสำคัญ
จุดประสงค์การเรียนรู้

จักรเย็บผ้าเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในงานตัดเย็บที่
จำเป็นและสำคัญ ต้องรู้จักส่วนประกอบที่สำคัญและหน้าที่ต่างๆ เมื่อเกิดปัญหาในการใช้จึงจะสามารถดูแลและบำรุงรักษาได้

1.บอกส่วนประกอบของจักรเย็บผ้าได้
2.บอกหน้าที่ที่สำคัญของส่วนประกอบจักรเย็บผ้าได้

สื่อ/อุปกรณ์/ แหล่งเรียนรู้

1. จักรเย็บผ้า
2. เอกสารประกอบการเรียนการสอนเรื่อง งานตัดเย็บเสื้อผ้า หน่วยที่ 2 ประกอบด้วย
1.ใบความรู้หน่วยที่ 2 จำนวน 4 ชุด
2. แบบฝึกทักษะหน่วยที่ 2 จำนวน 4 ชุด
3.แบบทดสอบปรนัยจำนวน 10 ข้อ เรื่อง ส่วนประกอบและหน้าที่ของส่วนประกอบต่างๆของจักรเย็บผ้า

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้

ชั่วโมงที่ 1
1.ขั้นกระตุ้นสมอง
1. ครูและนักเรียน สนทนาและ ซักถามประสบการณ์ของนักเรียน 3 – 5 คน ว่านักเรียนคนใดเคยใช้จักรเย็บผ้า ,ใครใช้จักรเป็นบ้าง , ใช้เย็บอะไร มีความยากง่ายเพียงใด นักเรียนรู้จักชื่อส่วนใดของจักรบ้าง ,ส่วนประกอบนั้นมีความสำคัญอย่างไร ครู แจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้
2.ครูและนักเรียนสรุปร่วมกันถึงประเด็นในข้อที่ 1 และข้อ ครูแจ้งผลการเรียนรู้ที่คาดหวังและ
ทดสอบก่อนเรียนจำนวน 10 ข้อ
2. ขั้นท่องประสบการณ์
1.ให้นักเรียนแต่ละคนศึกษาเนื้อหา ส่วนประกอบและหน้าที่ของส่วนประกอบจากใบความรู้ที่ 2
2. ครูอธิบายส่วนประกอบของหัวจักร แนะนำส่วนประกอบอื่นที่ต้องใช้ร่วมกับจักร สุ่มถามให้นักเรียนตอบเกี่ยวกับชื่อส่วนประกอบจักร
3. ให้แต่ละกลุ่มทำกิจกรรมตามแบบฝึกที่ 2 .1 โดยให้จับคู่ ชื่อและหน้าที่ของส่วนประกอบให้
ตรงกัน
4. ส่งใบงาน เปลี่ยนกันตรวจในแต่ละกลุ่ม ตรวจคำตอบพร้อมกันทั้งชั้นเรียน

ชั่วโมงที่ 2

3. ขั้นสร้างฐานความรู้
1. ให้นักเรียนแต่ละคนวางเขียนแผนภาพแสดงถึงส่วนประกอบและหน้าที่ของจักรจากจักรเย็บผ้าของจริงและแผนภาพส่วนประกอบ จากแบบฝึกที่ 2.2
2. นักเรียนทั้งชั้นร่วมกันเฉลยและตรวจคำตอบ สรุปผลการเรียนรู้ร่วมกันทั้งชั้นเรียน

4.ขั้นสรุป-สู่ใจ
ครูสรุปร่วมกับนักเรียนเกี่ยวกับชื่อและลักษณะของส่วนประกอบจักรให้ตรงกัน ในแบบฝึกที่ 2.3

5.ขั้นปรับไปใช้ในชีวิตจริง
1.ให้นักเรียนสังเกตจักรเย็บผ้าที่ครูนำมาเป็นตัวอย่าง ถ้านักเรียนจะใช้จักเย็บผ้า จักรแต่ละส่วนมีชื่อเรียกว่าอย่างไร และมีหน้าที่สำคัญอบ่างไร ให้นักเรียนเขียนตอบลงในผังความคิดตามแบบฝึกที่ 2. 4
2. ทดสอบการประเมินผลหลังเรียนแบบปรนัยจำนวน 10 ข้อ

การวัดผลและประเมินผล

1.การประเมินผลตามสภาพจริง
- สังเกตพฤติกรรมการทำกิจกรรมของนักเรียน
- สังเกตความตั้งใจ เอาใจใส่และความรับผิดชอบของนักเรียน
- สังเกตกระบวนการกลุ่ม การรายงานหน้าชั้นเรียน
2.การตรวจผลงาน
- แบบฝึกทักษะที่ 2.1 – 2.4

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4

วิชา การงานอาชีพและเทคโนโลยีเพิ่มเติมคหกรรม รหัสวิชา ง 30222 ระดับชั้น ม .2 เวลา 2 ชั่วโมง
เรื่อง การใช้จักรเย็บผ้า ( การกรอด้าย , การประกอบตีนผี ,การเย็บโดยไม่ใส่เข็ม )
หน่วยการเรียนรู้ จักรเย็บผ้า

สาระการเรียนรู้ / สาระสำคัญ
จุดประสงค์การเรียนรู้

จักรเย็บผ้าเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในงานตัดเย็บที่
จำเป็นและสำคัญ ต้องใช้ให้ถูกวิธี ถูกหน้าที่ตามขั้นตอน เมื่อเกิดปัญหาในการใช้จึงจะสามารถดูแลและบำรุงรักษาได้

1. อธิบายวิธีการใช้จักรได้
2.ใช้เย็บผ้าได้ตามขั้นตอน
3. ฝึกปฏิบัติการเย็บโดยใช้จักรเย็บผ้าตามรูปแบบที่กำหนดให้ได้

สื่อ/อุปกรณ์/ แหล่งเรียนรู้

1. ภาพเสื้อผ้าตามสมัย
2. เอกสารประกอบการเรียนการสอนเรื่อง งานตัดเย็บเสื้อผ้าหน่วยที่ 3 ประกอบด้วย
1.ใบความรู้หน่วยที่ 3 จำนวน 5 ชุด
2. แบบฝึกทักษะหน่วยที่ 3 จำนวน 5 ชุด
3.แบบทดสอบปรนัยจำนวน 10 ข้อ เรื่อง การใช้จักรเย็บผ้า

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้

ชั่วโมงที่ 1
1.ขั้นกระตุ้นสมอง
1. สนทนาและทบทวนความรู้เดิมเกี่ยวกับส่วนประกอบต่างๆของจักรที่นักเรียนรู้จักแล้ว และ ส่วนประกอบต่างๆของจักรนั้น มีความเกี่ยวข้องกับกลไกการทำงานของจักรทำให้จักรทำงานได้อย่างไรครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้
2.ครูและนักเรียนสรุปร่วมกันถึงประเด็นในข้อที่ 1 ครูแจ้งผลการเรียนรู้ที่คาดหวังและ
ทดสอบก่อนเรียนจำนวน 10 ข้อ
2. ขั้นท่องประสบการณ์
1. ให้นักเรียนจัดกลุ่มออกเป็น 6 กลุ่ม ตั้งชื่อกลุ่ม มอบหมายหน้าที่ในกลุ่ม
2.ให้นักเรียนแต่ละคนศึกษาเนื้อหา การใช้จักรเย็บผ้าจากใบความรู้ที่ 3.2 การใช้จักรการกรอด้าย
การใส่ตีนผี หมุดรัด เย็บไม่ต้องใส่เข็ม
3.ให้นักเรียนนั่งประจำที่จักรของตนเอง พร้อมทั้งฟังอธิบายและดูการสาธิต การใช้จักรการกรอ
ด้าย การใส่ตีนผี หมุดรัด เย็บไม่ต้องใส่เข็ม

ชั่วโมงที่ 2

3. ขั้นสร้างฐานความรู้
1.ครูอธิบายวิธีการใช้จักรและสาธิตการใช้จักรการกรอด้าย การใส่ตีนผี หมุดรัด เย็บไม่ต้องใส่เข็ม จากแผนภาพและของจริง ตามขั้นตอนประกอบด้วย การนั่ง การถีบจักร

4.ขั้นสรุป-สู่ใจ
1.ให้นักเรียนทุกคนฝึกปฏิบัติ การใช้จักรตามขั้นตอนที่ครู สาธิต และบันทึกผลการปฏิบัติลงใน
แบบฝึกที่ 3.2 ทดสอบปฏิบัติการใช้จักรกรอด้าย การใส่ตีนผี หมุดรัด เย็บไม่ต้องใส่เข็ม ตาม
ขั้นตอนรายบุคคล
2. ประเมินผลการปฏิบัติการใช้จักรร่วมกันทั้งชั้น
3.ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปถึงวิธีการใช้จักร (กรอด้าย การใส่ตีนผี หมุดรัด เย็บไม่ต้องใส่
เข็ม ) ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงาน เพื่อแก้ไขและปรับปรุง

5.ขั้นปรับไปใช้ในชีวิตจริง
ให้นักเรียนสังเกตผลงานการเย็บจักรด้วยลายเส้นแบบต่าง ๆจำนวน 4 แบบ เมื่อนักเรียนต้องเย็บเสื้อผ้า 1 ตัว นักเรียนจะต้องใช้ลายเส้นที่ครูกำหนดให้

การวัดผลและประเมินผล

1.การประเมินผลตามสภาพจริง
- สังเกตพฤติกรรมการทำกิจกรรมของนักเรียน
- สังเกตความตั้งใจ เอาใจใส่และความรับผิดชอบของนักเรียน
- สังเกตกระบวนการกลุ่ม การรายงานหน้าชั้นเรียน
2.การตรวจผลงาน
- แบบฝึกทักษะที่ 3.2

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5

วิชา การงานอาชีพและเทคโนโลยีเพิ่มเติมคหกรรม รหัสวิชา ง 30222 ระดับชั้น ม .2 เวลา 2 ชั่วโมง
เรื่อง การใช้จักรเย็บผ้า ( การร้อยด้าย , การใส่เข็ม , การเย็บโดยร้อยด้ายและใส่เข็ม )
หน่วยการเรียนรู้ จักรเย็บผ้า

สาระการเรียนรู้ / สาระสำคัญ
จุดประสงค์การเรียนรู้

จักรเย็บผ้าเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในงานตัดเย็บที่
จำเป็นและสำคัญ ต้องใช้ให้ถูกวิธี ถูกหน้าที่ตามขั้นตอน เมื่อเกิดปัญหาในการใช้จึงจะสามารถดูแลและบำรุงรักษาได้

1. อธิบายวิธีการใช้จักรได้
2.ใช้เย็บผ้าได้ตามขั้นตอน
3. ฝึกปฏิบัติการเย็บโดยใช้จักรเย็บผ้าตามรูปแบบที่กำหนดให้ได้

สื่อ/อุปกรณ์/ แหล่งเรียนรู้

1. จักรเย็บผ้า
2. เอกสารประกอบการเรียนการสอนเรื่อง งานตัดเย็บเสื้อผ้าหน่วยที่ 3 ประกอบด้วย
1.ใบความรู้หน่วยที่ 3 จำนวน 5 ชุด
2. แบบฝึกทักษะหน่วยที่ 3 จำนวน 5 ชุด
3.แบบทดสอบปรนัยจำนวน 10 ข้อ เรื่อง การใช้จักรเย็บผ้า

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้

ชั่วโมงที่ 1
1.ขั้นกระตุ้นสมอง
1. สนทนาและทบทวนความรู้เดิมเกี่ยวกับส่วนประกอบต่างๆของจักรที่นักเรียนรู้จักแล้ว และ ส่วนประกอบต่างๆของจักรนั้น มีความเกี่ยวข้องกับกลไกการทำงานของจักรทำให้จักรทำงานได้อย่างไรครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้
2.ครูและนักเรียนสรุปร่วมกันถึงประเด็นในข้อที่ 1 และครูแจ้งผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

2. ขั้นท่องประสบการณ์
1. ให้นักเรียนจัดกลุ่มออกเป็น 6 กลุ่ม ตั้งชื่อกลุ่ม มอบหมายหน้าที่ในกลุ่ม
2.ให้นักเรียนแต่ละคนศึกษาเนื้อหา การใช้จักรเย็บผ้าจากใบความรู้ที่ 3.3 การใช้จักรการร้อยด้าย ,
การใส่เข็ม , การเย็บโดยร้อยด้ายและใส่เข็ม
3.ให้นักเรียนนั่งประจำที่จักรของตนเอง พร้อมทั้งฟังอธิบายและดูการสาธิต การใช้จักรการร้อย
ด้าย , การใส่เข็ม , การเย็บโดยร้อยด้ายและใส่เข็ม

ชั่วโมงที่ 2

3. ขั้นสร้างฐานความรู้
1.ครูอธิบายวิธีการใช้จักรและสาธิตการใช้จักร การร้อยด้าย , การใส่เข็ม , การเย็บโดยร้อยด้ายและใส่เข็ม จากแผนภาพและของจริง ตามขั้นตอน

4.ขั้นสรุป-สู่ใจ
1.ให้นักเรียนทุกคนฝึกปฏิบัติ การใช้จักรตามขั้นตอนที่ครู สาธิต และบันทึกผลการปฏิบัติลงใน
แบบฝึกที่ 3.3 ทดสอบปฏิบัติการใช้จักรกรอด้าย การใส่ตีนผี หมุดรัด เย็บโดยใส่เข็ม ตาม
ขั้นตอนรายบุคคล
2. ประเมินผลการปฏิบัติการใช้จักรร่วมกันทั้งชั้น
3.ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปถึงวิธีการใช้จักร (กรอด้าย การใส่ตีนผี หมุดรัด การเย็บใส่เข็ม ) ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงาน เพื่อแก้ไขและปรับปรุง

5.ขั้นปรับไปใช้ในชีวิตจริง
ให้นักเรียนสังเกตผลงานการเย็บจักรด้วยลายเส้นแบบต่าง ๆจำนวน 4 แบบ เมื่อนักเรียนต้องเย็บเสื้อผ้า 1 ตัว นักเรียนจะต้องใช้ลายเส้นที่ครูกำหนดให้

การวัดผลและประเมินผล

1.การประเมินผลตามสภาพจริง
- สังเกตพฤติกรรมการทำกิจกรรมของนักเรียน
- สังเกตความตั้งใจ เอาใจใส่และความรับผิดชอบของนักเรียน
- สังเกตกระบวนการกลุ่ม การรายงานหน้าชั้นเรียน
2.การตรวจผลงาน
- แบบฝึกทักษะที่ 3.3
Subscribe to: Posts (Atom)